วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันพุธ ที่ 22 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
            วันนี้เรียนเนื้อหาการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ โดยเนื้อหาการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด โดยมีเนื้อหาดังนี้
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
- เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
- เกิดผลดีในระยะยาว
- เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ แทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
- แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP) เป็นห้องเรียนเด็กออทิสติก
- โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
- การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
- การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
- การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
3. การบำบัดทางเลือก
- การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
- ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
- ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
- การฝังเข็ม (Acupuncture)
- การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
- การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
- โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) เป็นสื่อรูปภาพให้เด็กพิเศษใช้สื่อสารบอกความต้องการ
- เครื่องโอภา (Communication Devices)
- โปรแกรมปราศรัย
บทบาทของครู
- ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
- ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
- จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
- ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ
   1. ทักษะทางสังคม
     - เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
     - การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก
- ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ คือ ทำหน้าที่เป็นบัดดี้ เคยดูแลเด็กพิเศษ โดยบัดดี้ต้องมีลักษณะเป็นผู้นำ สามารถดูแลเด็กพิเศษได้
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
- ทำโดย “การพูดนำของครู”
      วิธีการคือ เวลาจะนำเด็กพิเศษมาเล่นกับเพื่อน ต้องเรียกชื่อเด็กก่อนแล้วค่อยๆ เข้าไปแตะตัว ไหล่ หรือลูบหัวเบาๆ เรียกชื่อซ้ำๆ พูดชวนเด็กหลายๆ ครั้ง แล้วค่อยๆ จูงพาเข้ามาหาเพื่อน เวลานำเด็กเข้ามาเล่นกับเพื่อนต้องมีอุปกรณ์ก่อนนำเข้ามา โดยครูต้องนั่งเล่นด้วยสักพัก แล้วค่อยๆ ถอยออกมา แต่ยังไม่เดินออกไปไกล ครูยืนดูสักพักก่อน
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
- การให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
   2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)
    วิธีการสอน คือ ยืนมองเด็กก่อนว่าเป็นอย่างไร ถ้าไม่ไปค่อยค่อยเดินเข้าไปหา โดยเรียกชื่อเด็ก แล้วจับมือ ถามเด็กว่าทำอะไร ถ้าถามไม่ตอบ ค่อยเข้าไปช่วยจับมือเด็กทำ พูดกับเด็กไปด้วยว่าทำอะไร
   3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  สิ่งที่เด็กพิเศษต้องการ คือ เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- ห้ามพูด “ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”  “ ครูทำให้
จะช่วยเมื่อไหร่
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
- เรียงลำดับตามขั้นตอน แต่ละขั้นตอนพูดเรื่อยๆ บอกย้ำๆ
สรุป
- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
- ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
- ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
   4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
   เด็กจะทำได้ดี คือ การเลียนแบบ ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
   เวลาสั่งให้สั่งทีละอย่าง อย่าสั่งเยอะ
อุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
      โดยวันนี้อาจารย์ให้ตัวแทนออกมาสาธิตตัวอย่างในการเรียนด้วย

การนำไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปใช้ฝึกสอนและสอนในอนาคตได้

การประเมิน
      ทุกคนมีความสุข สนุกสนานกับการเรียนเป็นอย่างมาก

ภาพกิจกรรม




วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทีกการเรียน ครั้งที่ 11
วันพุธ ที่ 15 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                วันนี้เริ่มการเรียนโดยอาจารย์นำผนการสอนการจัดประสบการณ์มาให้ดู แล้วเรียนเนื้อหาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ คือ การจัดให้เด้กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศากับเด็กทั้วไปได้ทำร่วมกัน โดยใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษต้องร่วมมือกันดูแลเป็นพิเศษ 
        การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) คือ การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) คือ การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
 Wilson , 2007  การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก โดยการสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้ เพื่อเป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
       เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All) การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยเด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- “สอนได้”
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
        เมื่อพบอาการผิดปกติของเด็ก ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก ครูไม่สามารถวินิจฉัยเด็กได้ ต้องให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ยินยัน โดยต้องเล่าความเป็นจริงจากสิ่งที่เห็นให้ผู้ปกครองฟัง แล้วครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่าผิดปกติ และครูห้ามตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก (ฉายา)
ครูทำอะไรบ้าง
- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ โดยการสังเกตได้ดีที่สุดคือครู
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
- การนับอย่างง่ายๆ คือ นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรมกี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
- การบันทึกต่อเนื่อง คือ ให้รายละเอียดได้มาก เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
- การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือ บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
- ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
- พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
        จากนั้นอาจารย์ให้ดูวีดีโอรายการ super10 โดยมีน้องช่อแก้ว น้องเป็นดาวน์ซินโดรม ที่ไปออกรายการเล่นขิม และอาจารย์ให้วาดรูปดอกบัวจากภาพที่อาจารย์เตรียมมาให้เหมือนที่สุด โดยกิจกรรมนี้วัดความรู้สึกจากสิ่งที่เห็น และเอาตัวอย่างจากเพื่อนในห้องมาเป็นแบบของเด็กพิเศษ

การนำไปประยุกต์ใช้
        สามารถนำสิ่งที่เรียนในวันนี้ไปให้สังเกตพฤติกรรมและบันทึกได้ในอนาคต

การประเมิน
        ทุกคนสนุกและสนใจการเรียนมาก

ภาพกิจกรรม










บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันพุธ ที่ 8 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.


หมายเหตุ : สอบกลางภาควิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันพุธ ที่ 1 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
          วันนี้เริ่มการเรียนโดยอาจารย์แจกปากกาเคมี และเรียนเนื้อหาเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมรณ์กับเด็กพิการซ้อน โดยเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ คือ มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ เด็กมีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้ เด็กควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ คือ มีความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว มีภาวะซึมเศร้า (Depression) ซึ่งมีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป มีปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต โดยจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ ดังนี้
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
- ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
- ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด 
- กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
- เอะอะและหยาบคาย 
- หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
- ใช้สารเสพติด 
- หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration) 
- จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที 
- ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
- งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น  
- ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
- งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
- มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา 
- พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น 
- มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก 
- เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders) 
- เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)     
       ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ Inattentiveness Hyperactivity Impulsiveness
Inattentiveness (สมาธิสั้น)
- ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ 
- ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ 
- มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย 
- เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ 
- เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
- ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก 
- เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา 
- เหลียวซ้ายแลขวา 
- ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ 
- อยู่ไม่สุข ปีนป่าย 
- นั่งไม่ติดที่ 
- ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
- ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม 
- ขาดความยับยั้งชั่งใจ 
- ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ 
- ไม่อยู่ในกติกา 
- ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง 
- พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง 
- ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน         
        สาเหตุของสมาธิสั้น คือ ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex) พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน 
- ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก 
- ดูดนิ้ว กัดเล็บ
- หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม 
- เรียกร้องความสนใจ 
- อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า 
- ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
- ฝันกลางวัน 
- พูดเพ้อเจ้อ
เด็กพิการซ้อน (ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์)
- อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
- ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
- ดูดนิ้ว กัดเล็บ - หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
- เรียกร้องความสนใจ
- อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
- ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว 
- ฝันกลางวัน
- พูดเพ้อเจ้อ
เด็กพิการซ้อน (ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน 
- ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก 
- ดูดนิ้ว กัดเล็บ 
- หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม 
- เรียกร้องความสนใจ 
- อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า 
- ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว 
- ฝันกลางวัน 
- พูดเพ้อเจ้อ
เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
- เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก 
- เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน 
- เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด 
- เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
        จากนั้นอาจารย์ให้ดูวีดีโอเด็กสมาธิสั้นก่อนจบการเรียนการสอนในครั้งนี้

การนำไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำสิ่งที่เรียนในวันนี้ไปปรับใช้เมื่อเจอเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในช่วงฝึกสอนหรือออกไปสอนแล้วในเข้ากับพฤติกรรมเด็กได้

การประเมิน
        วันนี้ทุกคนสนุกและตั้งใจเรียนกันเป็นพิเศษ

ภาพกิจกรรม



วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8
วัน อังคาร ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.




หมายเหตุ : สอบกลางภาคที่ 2 ปีการศึกษา 2559



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วัน อังคาร ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
เวลา 08.00 - 13.30 น.

เนื้อหาการเรียน
         วันนี้ได้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนเรียนเกษมพิทยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ให้ไปศึกษาการเรียนการสอนโดยการเรียนรวมของเด็กปฐมวัยจากสถานที่จริง เพื่อจะได้เห็นการเรียนการสอน พฤติกรรม พัฒนาการ และได้รับประสบการณ์ตรงจากในห้องเรียนที่ได้ไปสังเกต การไปสังเกตครั้งนี้ดิฉันได้ประจำอยู่ชั้นอนุบาล 2/1 ซึ่งเป็นห้องของจอย มีน้องที่มีความต้องการพิเศษอยู่ 2 คน คือ น้องปรายกับน้องริลลี่ อายุ 6 ขวบกว่า น้องทั้งสองเป็นดาวน์ซินโดรม เพราะเกิดจากการทำกิ๊บ โดยในช่วงหลังจากเข้าแถว คุณครูให้อนุบาล2 ออกไปเต้น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ น้องปรายสามารถทำกิจกรรรมร่วมกับเพื่อนได้ตามปกติ น้องริลลี่ยังต้องให้ครูช่วยจับมือร่วมไปด้วย จากนั้นได้เข้าห้องประชุมเปิดการศึกษาดูงานและกล่าวการต้อนรับจากโรงเรียนเกษมพิทยา เพื่ออธิปรายซักถามจากที่ได้สังเกตพฤติกรรมเด็กในขณะเข้าแถว ทำกิจกรรมหน้าเสาธง ก่อนแบ่งกลุ่มเข้าสังเกตตามห้องเรียน
           จากการสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียน ซึ่งวันนี้ชั้นอนุบาล 2/1 ได้ปิดโปรเจ็คแมว น้องปราย พูดนำเสนอส่วนประกอบของแมว น้องพูดได้ชัดเจนทุกคำ แต่เวลาชี้ยังให้ครูจอยจับมือชี้อยู่ เวลาอยุ่ในห้องขณะเพื่อนๆ นำเสนออยู่ น้องสนใจและมองดูเพื่อนนำเสนอตลอด พอเวลารวมตัวร่วมกันเต้นเพลงแมวกับเพื่อน น้องมีปฏิสัมพันธ์ ฟังตามคำสั่งที่เพื่อนสั่งได้ น้องสามารถทำตามเพื่อน เต้นท่าทางตามเพลงเหมือนเพื่อนๆ ได้  แต่น้องยังเข้าเล่นกับเพื่อนไม่ค่อยได้ เพราะเวลาน้องอยากเล่นกับเพื่อน น้องจะเข้าไปตีไหล่แบบแรงๆ แต่ครูก็พยายามให้น้องเวลาอยากเล่นกับเพื่อนให้ลูบไหล่เพื่อนเบาๆ และครูบอกกับเพื่อนๆ ว่านี่คือน้องอยากเล่นกับเพื่อนด้วย น้องริลลี่ น้องสนใจและเล่นอยู่คนเดียว น้องส่งเสียงมีส่วนร่วมเมื่อเพื่อนนำเสนอส่วนที่ตัวเองได้รับจบ  น้องได้พูดนำเสนอสีของแมว น้องพูดซ้ำๆ แต่ประโยคแรกสวัสดีค่ะ น้องพูดได้ชัดมาก  เมื่อน้องพูดจบ น้องแสดงความดีใจและพูดเออ น้องมีการตอบเพื่อนเมื่อเพื่อนถาม แล้วหลังจากเพื่อนถามพร้อมหรือยังในขณะจัดแถวเพื่อเต้นเพลงแมว น้องมีการเขย่งเท้าขึ้นลงระหว่างเพลงด้วย
             จากนั้นดิฉันได้มีโอกาสได้เข้าไปดูชั้นอนุบาล1 ซึ้งน้องกำลังเล่นบล็อกอยู่ พอน้องเห็นดิฉันเข้าไปเล่นด้วยน้องก็ไม่กลัวเลย น้องกลับเล่าบอกว่าน้องกำลังสร้างบ้านผีสิง ในบ้านผีมีอะไรบ้าง มีห้องนอนคนหลบอยู่ แต่ก็มีปัญหาบ้างคือน้องไม่แบ่งของเล่นกัน น้องแย่งบล็อกกัน แต่ดิฉันก็บอกให้แบ่งกันเล่น ช่วยกันต่อ ก่อนจะกลับเข้าห้องประชุม ดิฉันได้กลับมาห้องอนุบาล 2/1 อีกครั้ง ซึ่งตอนเข้ามาน้องปรายได้เข้ามาเล่นและพูดคุยกับกลุ่มนักศึกษาที่เข้ามาก่อน พอน้องปรายกำลังไปล้างหน้า เพื่อเตรียมกินข้าว น้องปรายได้เรียกครูแอม แล้วก็โบกมือบ๊ายบาย ส่วนน้องริลลี่น้องนั่งเล่นอยู่กับครูจอย ก่อนกลับไปห้องประชุมกลุ่มนักศึกษาได้บอกลาน้องปรายและเล่นด้วย น้องปรายขอกอด โดยกอดทุกคน และทำ ไอเลิฟยู โดยน้องกอดซ้ำๆ บางคน 
              พอกลับมาที่ห้องประชุม ซึ่งกลุ่มของดิฉันเข้ามาเป็นกลุ่มสุดท้าย จากนั้นได้อบรมวิธีการสอนแบบไฮสโคป การสอนภาษาแบบธรรมชาติ และการทำสารนิทัศน์ของโรงเรียนเกษมพิทยา โดยสารนิทัศน์แบ่งออกเป็น 5 ประเภท  1. การบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับ  2. การสังเกตพัฒนาการเด็ก  3. พอร์ตโฟลิโอ  4. ผลงานเด็กรายบุคคล  5. การสะท้อนตัวเอง คือ ครู ผู้ปกครอ จากนั้นทานข้าวและปิดการศึกษาดูงานในครั้งนี้

การนำไปประยุกต์ใช้
             สามารถนำสิ่งที่ได้รับในวันนี้ไปปรับใช้ในการออกไปฝึกสอนและสอนในอนาคตได้อย่างมาก

การประเมิน
            วันนี้ทุกคนสนุกและได้รับความรู้จากการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนเกษมพิทยาเป็นอย่างอย่างมาก

ภาพกิจกรรม