บันทีกการเรียน ครั้งที่ 11
วันพุธ ที่ 15 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
วันนี้เริ่มการเรียนโดยอาจารย์นำผนการสอนการจัดประสบการณ์มาให้ดู แล้วเรียนเนื้อหาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ คือ การจัดให้เด้กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศากับเด็กทั้วไปได้ทำร่วมกัน โดยใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษต้องร่วมมือกันดูแลเป็นพิเศษ
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
คือ การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
คือ การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
Wilson , 2007
การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion)
เป็นหลัก โดยการสอนที่ดี
เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี
(Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
เพื่อเป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ
โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน
ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education
for All) การเรียนรวม
เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ
หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยเด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้
และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง
ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- “สอนได้”
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
เมื่อพบอาการผิดปกติของเด็ก ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก
ครูไม่สามารถวินิจฉัยเด็กได้ ต้องให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ยินยัน
โดยต้องเล่าความเป็นจริงจากสิ่งที่เห็นให้ผู้ปกครองฟัง แล้วครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่าผิดปกติ
และครูห้ามตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก (ฉายา)
ครูทำอะไรบ้าง
- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
โดยการสังเกตได้ดีที่สุดคือครู
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
- การนับอย่างง่ายๆ คือ นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรมกี่ครั้งในแต่ละวัน
กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
- การบันทึกต่อเนื่อง คือ ให้รายละเอียดได้มาก
เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
- การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือ บันทึกลงบัตรเล็กๆ
เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
- ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง
มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
- พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน
ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น
ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
จากนั้นอาจารย์ให้ดูวีดีโอรายการ super10 โดยมีน้องช่อแก้ว น้องเป็นดาวน์ซินโดรม ที่ไปออกรายการเล่นขิม และอาจารย์ให้วาดรูปดอกบัวจากภาพที่อาจารย์เตรียมมาให้เหมือนที่สุด โดยกิจกรรมนี้วัดความรู้สึกจากสิ่งที่เห็น และเอาตัวอย่างจากเพื่อนในห้องมาเป็นแบบของเด็กพิเศษ
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำสิ่งที่เรียนในวันนี้ไปให้สังเกตพฤติกรรมและบันทึกได้ในอนาคต
การประเมิน
ทุกคนสนุกและสนใจการเรียนมาก
ภาพกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น